ประโยชน์ของเห็ด 8 ชนิด ที่คุณอาจไม่เคยรู้
"เห็ด" มีดีมากกว่าความอร่อย
“เห็ด” มีหลากชนิด และมีหลายชนิดที่มี ประโยชน์ต่อร่างกายของเรา ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีใครไม่รู้จัก “เห็ด” เห็ดเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ใครหลาย ๆ คนโปรดปราน
เพราะเห็ดจะมีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่ดีแล้ว ยังจัดเป็นอาหารประเภทผักที่ปราศจากไขมัน แต่คุณอาจยังไม่ทราบถึงคุณประโยชน์อันน่าทึ่งของมัน จะมีอะไรบ้างลองดูกันค่ะ
1.เห็ดหอม หรือ เห็ดชิตาเกะ
เป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2สูงพอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูง ช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัดชาวจีนยกให้้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ “อมตะ”้
2.เห็ดหูหนู
เป็นกลุ่มของคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาวช่วยบำรุงปอดและไต
3.เห็ดหลินจือ
มีสารสำคัญ เช่น เบต้ากลูแคนซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูง
4.เห็ดกระดุม หรือ เห็ดแชมปิญองรูปร่างกลมมน
คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มี ให้เลือกทั้งแบบสด หรือบรรจุกระป๋อง มีบทบาทในการรักษาและป้อง กันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่ สุดโดยสารบางอย่างในเห็ด นี้จะไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อร่างกาย ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย
5.เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าและเห็ดเป๋าฮื้อ
เห็ดสามอย่างนี้อยู่ในตระกูลเดียวกัน เจริญเติบโตเป็นช่อ ๆคล้ายพัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล ขณะที่เห็ดเป๋าฮื้อจะมีสีคล้ำ และเนื้อเหนียวหนานุ่ม อร่อยคล้ายเนื้อสัตว์มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัดช่วยการไหลเวียนของเลือด และโรคกระเพาะ
6.เห็ดฟาง
เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าว ชื้น ๆ โคน มี สีขาว ส่วนหมวกมีสีน้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ให้ วิตามินซีสูง และ มีกรดอะ มิโนสำคัญอยู่หลายชนิดหากรับประทาน เป็นประจำจะช่วยเสริม ภูมิคุ้มกันการ ติดเชื้อต่างๆ อีก ทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล
7.เห็ดเข็มทอง
เป็นเห็ดสีขาวหัวเล็กๆ ขึ้นติดกันเป็นแพ รสชาติเหนียวนุ่ม นำมารับประทานแบบสดๆ ใส่กับสลัดผักก็ได้ ถ้าชอบสุกก็นำไปย่าง ผัดหรือลวกแบบ สุกี้ ถ้ากินเป็นประจำ จะช่วยรักษาโรคตับโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง
8.เห็ดโคน หรือ เห็ดปลวก
ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิดแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่า น้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่นเชื้อไทฟอยด์
ขึ้นชื่อว่าเห็ด ทุกสายพันธุ์ล้วนมีสรรพคุณที่ดีอยู่แล้ว สำหรับใครที่อยากรับประทานเห็ดปลอดสารพิษ ลองหาซื้อก้อนเห็ดมาปลูกเอง ดูแลเองที่บ้าน เพื่อจะได้รับประทานเห็ดที่สดและปลอดภัยได้ด้วยค่ะ
#ดูแลสุขภาพ #ประโยชน์ของเห็ด #อาหาร #สุขภาพที่ดี #เห็ด #เห็ดชิตาเกะ #เห็ดนางฟ้า #เห็ดนางรม #เห็ดฟาง #เห็ดหลินจือ #เห็ดหอม #เห็ดหูหนู #เห็ดเข็มทอง #เห็ดเป๋าฮื้อ #เห็ดเผาะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : honestdocs.co
ขอขอบคุณภาพสวยๆจาก : internet
“เห็ด” มีหลากชนิด และมีหลายชนิดที่มี ประโยชน์ต่อร่างกายของเรา ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีใครไม่รู้จัก “เห็ด” เห็ดเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ใครหลาย ๆ คนโปรดปราน
เพราะเห็ดจะมีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่ดีแล้ว ยังจัดเป็นอาหารประเภทผักที่ปราศจากไขมัน แต่คุณอาจยังไม่ทราบถึงคุณประโยชน์อันน่าทึ่งของมัน จะมีอะไรบ้างลองดูกันค่ะ
เพราะเห็ดจะมีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่ดีแล้ว ยังจัดเป็นอาหารประเภทผักที่ปราศจากไขมัน แต่คุณอาจยังไม่ทราบถึงคุณประโยชน์อันน่าทึ่งของมัน จะมีอะไรบ้างลองดูกันค่ะ
1.เห็ดหอม หรือ เห็ดชิตาเกะ
เป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2สูงพอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูง ช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัดชาวจีนยกให้้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ “อมตะ”้
2.เห็ดหูหนู
เป็นกลุ่มของคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาวช่วยบำรุงปอดและไต
3.เห็ดหลินจือ
มีสารสำคัญ เช่น เบต้ากลูแคนซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูง
4.เห็ดกระดุม หรือ เห็ดแชมปิญองรูปร่างกลมมน
คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มี ให้เลือกทั้งแบบสด หรือบรรจุกระป๋อง มีบทบาทในการรักษาและป้อง กันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่ สุดโดยสารบางอย่างในเห็ด นี้จะไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อร่างกาย ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย
5.เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าและเห็ดเป๋าฮื้อ
เห็ดสามอย่างนี้อยู่ในตระกูลเดียวกัน เจริญเติบโตเป็นช่อ ๆคล้ายพัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล ขณะที่เห็ดเป๋าฮื้อจะมีสีคล้ำ และเนื้อเหนียวหนานุ่ม อร่อยคล้ายเนื้อสัตว์มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัดช่วยการไหลเวียนของเลือด และโรคกระเพาะ
6.เห็ดฟาง
เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าว ชื้น ๆ โคน มี สีขาว ส่วนหมวกมีสีน้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ให้ วิตามินซีสูง และ มีกรดอะ มิโนสำคัญอยู่หลายชนิดหากรับประทาน เป็นประจำจะช่วยเสริม ภูมิคุ้มกันการ ติดเชื้อต่างๆ อีก ทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล
7.เห็ดเข็มทอง
เป็นเห็ดสีขาวหัวเล็กๆ ขึ้นติดกันเป็นแพ รสชาติเหนียวนุ่ม นำมารับประทานแบบสดๆ ใส่กับสลัดผักก็ได้ ถ้าชอบสุกก็นำไปย่าง ผัดหรือลวกแบบ สุกี้ ถ้ากินเป็นประจำ จะช่วยรักษาโรคตับโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง
8.เห็ดโคน หรือ เห็ดปลวก
ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิดแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่า น้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่นเชื้อไทฟอยด์
ขึ้นชื่อว่าเห็ด ทุกสายพันธุ์ล้วนมีสรรพคุณที่ดีอยู่แล้ว สำหรับใครที่อยากรับประทานเห็ดปลอดสารพิษ ลองหาซื้อก้อนเห็ดมาปลูกเอง ดูแลเองที่บ้าน เพื่อจะได้รับประทานเห็ดที่สดและปลอดภัยได้ด้วยค่ะ
#ดูแลสุขภาพ #ประโยชน์ของเห็ด #อาหาร #สุขภาพที่ดี #เห็ด #เห็ดชิตาเกะ #เห็ดนางฟ้า #เห็ดนางรม #เห็ดฟาง #เห็ดหลินจือ #เห็ดหอม #เห็ดหูหนู #เห็ดเข็มทอง #เห็ดเป๋าฮื้อ #เห็ดเผาะ
ขอขอบคุณภาพสวยๆจาก : internet
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น